อุปกรณ์การผลิต
1. ไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้น้ำเกลี้ยง ( ไม้รัก )
2. ไม้เฮี้ย ( ไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง )
3. เหล็กแหลมเจาะรู ( เหล็กซี )
4. ลิ้นแคนซึ่งทำจากโลหะผสมของเงินและทองแดง
5. ขี้ผึ้งเหนียว ( ขี้สูตร )
วิธีการผลิต
ชาวบ้านจะไปตัดไม้เฮี้ยจากบนภูเขาไปขายให้แก่ช่างแคน เดิมก็ใช้เกวียนบรรทุกไป แต่ปัจจุบันใช้รถบรรทุกขนไป ราคาขายปลีกมัดละ 10 บาท มัดหนึ่ง ๆ ชาวบ้านเรียกว่า “หลาบ” ๆ ละ 16 กู่ ซึ่งใช้ทำแคนได้ 1 เต้า (ส่วนมากเรียก “ดวง”)
เมื่อช่างแคนได้ไม้กุ่แคนมาแล้วก็จะตากให้แห้ง จึงนำมาเจาะทะลุข้อและคัดให้ตรงแล้วคัดเป็นท่อนตามขนาดที่ต้องการใช้ ต่อจากนี้ก็เจาะลิ้น รูแพว
สำหรับลิ้นนั้นทำจากโลหะ เช่น ทองเหลือง ทองแดง หรือโลหะผสม คือ ทองแดงผสมเงินซึ่งจะมีช่างโลหะโดยตรงเป็นผู้ผสมและตีเป็นมาตรฐานมาให้ช่างแคน ช่างแคนก็จะนำมาตัดเป็นเส้นและตีให้เป็นแผ่นบาง ๆ ให้ได้ขนาดที่จะสับเป็นลิ้นแคน นำลิ้นแคนไปสอดใส่ไว้ในช่องรูลิ้นของกู่แคนหรือลูกแคนแต่ละลูก
เต้าแคนช่างแคนทำจากไม้ประดู่หรือไม้นำเกลี้ยง (ไม้รัก) ถ้าเป็นไม้ประดู่คู่นิยมใช้รากเพราะตัดหรือปาดง่ายด้วยมีดตอก ใช้สิ่วเจาะให้กลวงเพื่อเป็นที่สอดใส่ลูกแคนและเป็นทางให้ลมเป่าผ่านไปยังลิ้นแคนได้สะดวก เมื่อสอดใส่ลูกแคนเข้าไปในเต้าแล้วต้องใช้ขี้สูตร หรือขี้แมงน้อยก็เรียก ขี้สูตรนี้เข้าใจว่าเป็นพวกสารพวกขี้ผึ้งดำ ได้จากรังของแมลงชนิดหนึ่งคล้ายมิ้มหรือผึ้งเล็กแมลงชนิดนี้ชาวบ้านเรียกว่าแมงน้อยหรือแมงขี้สูตร เดิมทีเดียวคงเรียกว่าแมงน้อย แต่เมื่อนำมาเป็นชันอุดและเชื่อมลูกแคนเข้ากับเต้าแคน และใช้สำหรับปิดรูนับรูเสียงเสพหรือที่ชาวผู้ไทยเรียกเสียงกล่อม ทำให้เป่าแคนเป็นทำนองลีลาต่างกันออกไป เกิดเป็นสูตรเพลงแคนขึ้นมาเป็นลายน้อยลายใหญ่และอื่น ๆ ขึ้นมา ขี้แมงน้อยก็กลายเป็นขี้ “สูตร” แทนคำว่า “ขี้สูด” บังคับให้เกิด “สูตร” เพลงแคนขึ้นมา ข้าพเจ้าจึงใช้คำว่า “ขี้สูตร” แทนทำว่า “ขี้สูด”
ระบบเสียง เนื่องจากแคนมีหลายชนิด หากจะแบ่งตามจำนวนลูกแคนเป็นคู่ ๆ ก็จะแบ่งได้เป็นแคนสาม (ปกติเรียกกันว่าแคนหก เพราะมีหกลูกหรือสามคู่) แคนสี่แคนห้า (แคนหกข้าพเจ้ายังไม่เคยพบ – หมายถึงแคนที่มีหกคู่หรือสิบสองลูก) แคนเจ็ด แคนแปด และแคนเก้า ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะแคนแปดซึ่งเป็นแคนที่นิยมใช้แพร่หลายที่สุด
ระบบของแคนแปดมีเสี้ยงทั้งหมด 16 เสียง แต่เป็นระดับเสียงที่ซ้ำกันเสีย 2 เสียง ฉะนั้นจึงมีเสียงที่มีระดับแตกต่างกันทั้งหมด 15 เสียง เรียงลำดับจากต่ำไปสูงดังนี้ คือ ลา ที โด เร มี ฟา ซอล (ซอล) ลา ที โด เร มี ฟา ซอล ลา แต่เสียงทั้ง 16 เสี้ยงนี้มิได้เรียงลำดับอย่างเสียงระนาดหรือเสียงเปียโน หากแต่เสียงเหล่านี้นำไปเรียงกันเข้าไปในลักษณะที่คล้ายคลึงกับการเรียงตัวอักษรของพิมพ์ดีด ทั้งนี้เพื่อสะดวกและเหมาะสม ในการบรรเลงเพลงพื้นบ้านและลักษณะการประสานเสียงทางดนตรีของชนแต่ละกลุ่ม
วิธีเล่นและการฝึกหัด การฝึกหัดเป่าก็เหมือนกับการฝึกหัดเครื่องดนตรีอื่น ๆ คือ เรียนด้วยตนเองจากการสังเกตจดจำจากที่เคจได้ยินได้ฟัง ผู้จะฝึกหัดนิยมไปหาซื้อแคนมาเองค่อยศึกษาคลำทางทีละนิดละหน่อย ถ้ามีโอกาสที่จะขอคำแนะนำจากผู้ที่เป่าเป็นแล้ว เมื่อจำทำนองอันใดได้ก็เอามาประติดประต่อเป็นของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้ฝึกหัดจำเป็นต้องรู้ก็คือต้องรู้ตำแหน่งของเสียงแคนว่าลูกใดเป็นเสียงลูกใดคู่กับลูกใด นอกจากนี้ยังต้องรู้ตำแหน่งของนิ้วมือด้วยว่านิ้วใดใช้กดหรือนับลูกใดบ้าง
เนื่องจากแคนแปดมีลูกแคนข้างละแปดลูกจำเป็นต้องแบ่งหน้าที่ให้เป็นระบบดังนี้คือ
1. หัวแม่มือ มีหน้าที่กอไว้เฉพาะลูกที่หนึ่ง (ลูกที่อยู่ใกล้ที่เป่าที่สุด)
2. นิ้วชี้ มีหน้าที่กดได้สองลูกคือลูกที่สองกับลูกที่สาม
3. นิ้วกลาง มีหน้าที่กดได้สองลูกคือลูกที่สี่กับลูกที่ห้า
4. นิ้วนางกดได้สองลูกคือ ลูกที่หกกับลูกที่เจ็ด
5. นิ้วก้อย มีหน้าที่กดได้ลูกเดียวคือลูกที่แปด คือลูกเล็กที่สุดที่อยู่ปลายสุด
โอกาสที่เล่นและการผสมวง
แคนเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดของชาวอีสาน เพราะการบรรเลงดนตรีทุกอย่างของชาวอีสานจะต้องอิงแคนเป็นหลัก และทำนองเพลงของเครื่องดนตรีต่าง ๆ ก็ล้วนแต่ยึดแบบอย่างของเพลงแคนทั้งสิ้น ในสมัยโบราณพวกหนุ่มผู้นิยมเป่าแคนดีดพิณเดินเลาะบ้านไปคุยสาว หรือไม่ก็ในงานบุญพระเวสฯ พวกหนุ่มก็จะพากันเป่าปีเป่าแคน ดีดพิณ สีซอ เลาะตามตูบหรือผาม (ปะรำ) พร้อมกับเกี้ยวสาวไปด้วยซึ่งเรียกว่า “ลำเลาะตูบ” แต่ในปัจจุบัน ประเพณีต่าง ๆ เหล่านี้สูญไปแล้ว จึงเหลือแต่การบรรเลงประกอบลำและประกอบฟ้อนในงานที่มีการจ้างหาในรูปแบบอื่น ๆ
เพลงแคน เพลงแคนจะแยกออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. เพลงหลัก 5 เพลง ได้แก่ ลายใหญ่ ลายน้อย ลายสุดสะแนน ลายโป้ซ้ายและลายส้อย คำว่า “ลาย” จะมีความหมายตรงกับ “โมด” ในดนตรีฝรั่งและต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงลายแคนทั้ง 5 ดังนี้
1. ลายใหญ่ เป็นลายที่มีเสียงต่ำ เมื่อก่อนจะเป่าเป็นจังหวะช้ามาก ๆ แต่ปัจจุบันมีลายจังหวะด้วยกัน เช่น ลายใหญ่ ธรรมดา หรือลายใหญ่หัวตกหมอน หรือลายใหญ่กะเลิง ลายใหญ่ภูเขียวภูเวียงและลายใหญ่สาวหยิกแม่ (ในจังหวะเร็วมาก) ในลายใหญ่ใช้ห้าเสียงเทียบได้กับเสียง A, B, C, E และ G ติดสูดที่ e กับ a
2. ลายน้อย มีมาตราเสียงแบบเดียวกับลายใหญ่ คือ ช้าและเศร้าที่เรียกว่าลายน้อยเพราะมีระดับเสียงสูงมาก และความยุ่งยากสับสนในการนับนิ้วนับเสียงก็ต่างกัน ลายน้อยอาจจะเรียกได้อีกชื่อว่า “ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก” เพราะว่ารเป็นทำนองเศร้ามากคล้าย ๆ กับความรู้สึกของแม่หม้ายที่กำลังกล่อมลูกน้อยให้นอนมาตราเสียงของลายน้อยจะเทียบได้กับ D, F, A และ C ติดสูดที่ d และ a
3. สายสุดสะแนน เป็นลายที่นิยมที่สุดสำหรับการบรรเลงประกอบหมอลำ “สุด” หมายถึง ใกล้ที่สุด “สะแนน” หรือ “สายแนน” หมายถึง เส้นหรือเชือกแห่งความรักดังนั้น “สุดสายแนน” อาจจะแปลว่า “สุดสายสัมพันธุ์แห่งความรัก” บางแห่งเรียกว่าสายสุดเมร หรือลายสุดสุเมรุ สายสุดสะแนนใช้เสียง C, D, E, G และ a ติดสูดที่ c และ g
4. ลายโป๊ะซ้าย ใช้มาตราเสียง F, G, A, C และ D ติดสูดที่ C และ G มีทำนองเดียวกันกับลายสุดสะแนน แต่เป็นด้วยความยากง่ายของการนับเสียงจึงแตกต่างจากลายสุดสะแนน ที่เรียกว่า ลายโป้ซ้าย ก็เพราะว่ารูติดสูดรูหนึ่งต้องปิดด้วยหัวแม่มือซ้าย
5. ลายสร้อย ส่วนมากลายนี้ใช้เล่นเดี่ยวมากกว่าเล่นประกอบหมอลำ ลายนี้เทียบได้กับเสียงใน G, A, B, D, E ติดที่สูด d และ a เหมือนกับลายน้อย ลายสร้อยมีทำนองเช่นกับโป้ซ้าย ยากที่จะแยกเสียงระหว่างลายสร้อยกับโป้ซ้ายแต่โดยทั่วไปแล้ว ลายสร้อยมีเสียงสูงกว่าลายโป้ซ้ายที่เรียกว่าลายสร้อยก็เพราะมีเสียงแหลมสูงมาก
ลายแคนที่เป็นหลักอีกลายชื่อว่า “ลายเซ” ซึ่งใช้กับเสียง E, G, A, B และติดสูดที่เสียง b และ e ลายเซจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับลายน้อยและลายใหญ่ ซึ่งเป็นเพลงมาตราเสียงโศ