ยังบ่อหมดเสียงพิณยังบ่อสิ้นเสียงแคนกะยังบ่อสิ้นหมอลำตาบได๋ที่คนอีสานยังบ่อลืมบ้านเฮาหมอลำกะสิบ่อหมดไป สวัดดีครับพี่น้อง ขอต้อนรับเข้าสู่ หมอลำ บ้านวังเยี่ยม ดอทคอม ศูนย์รวมหมอลำ ซิ่ง และ หมอลำเรื่องต่อกลอน และ งานประเภณีต่างๆทางภาคอีสานบ้านเฮามาให้พี่น้องได๋เบิงได๋ชมกันเด๋อครับ

ครู พิณ แคน

ครู พิณ แคน วันนี้ขอนำเสนอชีวะประวัติของครู พิณ แคน คนเก่งคนดังของภาคอีสานบ้านเฮา

ประวัติครู แคนอีสานระดับเทพ


อาจารย์ สมบัติ สิมหล้า
บ้านวังไฮ ต.วังใหม่ อ. บรบือ จ. มหาสารคาม


ประวัตินายสมบัติ สิมหล้า
นายสมบัติ สิมหล้า เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.. ๒๕๐๖ ที่บ้านเลขที่ ๒๒ หมู่ ๘ บ้านวังไฮ ต.วังใหม่ อ.บรบือ จ. มหาสารคาม เป็นบุตรของ นายโปง นาง บุดดี สิมหล้า (เสียชีวิตแล้วทั้งสองคน) ปัจจุบันนายสมบัติ สิมหล้า อายุ ๔๒ ปี โดยมีพี่น้องทั้งหมด ๖ คน ดังนี้ (สมบัติ สิมหล้า เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๘ เวลา ๑๕.๐๐ น.)
            ๑. นายอ่อนสา สิมหล้า       อาชีพทำนา
. นายลา สิมหล้า            อาชีพทำนา
          ๓. นางจันทาโพธิ์สุวรรณ     อาชีพทำนา
          ๔. นางพัด สีคูณ              อาชีพ ทำนา
          ๕. นางลัด กองตุ้น            อาชีพ ทำนา
          ๖. นายสมบัติ สิมหล้า        อาชีพ ศิลปิน
ประวัติด้านการศึกษา
ศึกษาอักษรเบล์ล ที่จังหวัดนนทบุรี
ประวัติทางด้านครอบครัว
นายสมบัติ สิมหล้า สมรสกับ นาง นิว ทืนหาญ มีภูมิลำเนาอยู่ที่ บ้านซองแมว ต.หนองม่วง อ.บรบือ จ.มหาสารคาม เมื่อ เดือนมีนาคม พ. .๒๕๓๗ มีบุตรสาว ๑ คน คือ ด..สุพัตรา สิมหล้า ปัจจุบันกำลัง ศึกษาอยู่ในช่วงชั้นที่ ๑ ที่ ร..บ้านวังไฮ ตํ า บ ล วั ง ใ ห ม่ อำ เ ภ อ บ ร บื อ จั ง ห วั ด มหาสารคาม
ประวัติด้านการเสียดวงตาของ นาย สมบัติ สิมหล้า
ถ้าจะพูดถึงประวัติในด้านการเป่า แคนของ นายสมบัติ สิมหล้า แล้วต้องพูด ถึงประวัติในส่วนที่ทำให้หมอแคนผู้นี้เสีย ดวงตาเสียก่อน เพื่อจะได้เชื่อมโยงไปถึงการ ฝึกหัด และเรียนเป่าแคนจนกลายมาเป็น หมอแคนอัจฉริยะในปัจจุบัน
เป็นที่ทราบกันว่า วงการแพทย์ใน สมัยเมื่อประมาณ ๓๐-๔๐ ปี นั้น ยังไม่ เจริญเท่าที่ควรนัก และบ้านวังไฮ ก็อยู่ห่าง จากตัว อำเภอบรบือ ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร เป็นเรืองลำบากที่จะเดินทางไป ทำคลอดในตัวอำเภอ จึงต้องอาศัยหมอ ตำแย เป็นคนดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำคลอดทั้งหมด ครอบครัว
สมบัติ สิมหล้า
สมบัติ สิมหล้า หมอแคนระดับเทพเจ้า เขาคือเทพแห่งแคนจริงๆ และที่สำคัญคือ เขา...ไ ม่ มี ต า ....ครับ ตาเขาบอดทั้งสองข้าง ความที่เก่งกล้าสามารถในเรื่องแคน ถึงขนาดที่ อาจารย์บรูซ แกสตัน ต้องขอทำความรู้จัก
แต่ก่อนไม่มีใครรู้จัก สมบัติ สิมหล้า อยู่ๆ เมื่อ ประมาณปี พ.ศ. 2518--2520 (ไม่แน่ใจ) มีเพลงลูกทุ่งเพลงหนึ่งโด่งดังทะลุฟ้าเมืองไทย และสร้างความตื่นตะลึงในหมู่คนฟังมากจากการขับร้องของ ศรชัย เมฆวิเชียร ในเพลง "เสียงซอสั่งสาว"
 ที่ว่าพิเศษจนคนตื่นตะลึงก็เพราะเสียงซอสั่งสาว เป็นเพลงที่ขึ้นอินโทรโดยใช้การโซโลเดี่ยวซอล้วนๆ ยาวประมาณ 20 วินาที.. มันไพเราะมากๆ มากจนผู้คนไต่ถามว่า มันผู้ใด๋กันที่เดี่ยวซอได้คักถึกใจขนาดนี้ คำเฉลยคือ.. สมบัติ สิมหล้า เป็นบุคคลผู้นั้นครับ
 ตั้งแต่นั้นมา ชื่อ สมบัติ สิมหล้า ก็ดังยิ่งกว่า ศรชัย เมฆวิเชียร เสียอีกครับท่านผู้ชม หลังจากนั้น อาจารย์บรูซ ก็ไปตามหาตัว ดึงมาเล่นวงฟองน้ำด้วยกัน ที่นี้ยิ่งไปกันใหญ่เลย มารับรู้กันกว้างขวางยิ่งขึ้นว่า สมบัติ เล่นดนตรีอิสานได้เก่งเฉียบขาดแทบทุกชิ้นรวมทั้งการเป็นเซียนแคนที่สามารถอีกด้วย
 นายสมบัติ สิมหล้า เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2506 เป็นบุตรของคุณพ่อโป่ง คุณแม่บุดดี สิมหล้า ซึ่งคุณพ่อเป็นหมอแคน คุณแม่เป็นหมอลำกลอน ปัจจุบันพำนักที่ บ้านเลขที่ 22 หมู่ที่ 8 บ้านวังไฮ ต.วังใหม่ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม โทร.(043) 727184
 เมื่อแรกเกิดดวงตาของ สมบัติ สิมหล้า แฉะ หมอตำแยจะทำการหยอดตาให้แต่ใช้ยาผิดโดยเอายาที่ใช้เช็ดสะดือมาหยอดตา จากการที่ใช้ยาผิดจึงเป็นสาเหตุทำให้ดวงตาของสมบัติ สิมหล้า เริ่มมืดและมองไม่เห็นในที่สุด
 ประวัติการศึกษา ศึกษาอักษรเบลล์ จากโรงเรียนคนพิการปากเกร็ดนนทบุรี เป็นเวลา 3 เดือน ได้เริ่มฝึกหัดเป่าแคนตั้งแต่อายุได้ 6 ขวบ พ่อชื้อแคนมาให้เป่า หวังจะให้มีลูกมีอาชีพเป็นหมอแคนในอนาคต ทั้งที่ตอนแรกสมบัติยังไม่รักที่จะเป่าแคนเลย
 เมื่อได้รับการฝึกฝนทักษะจากผู้เป็นบิดาที่มีอาชีพเป็นหมอแคน ก็สามารถเป่าแคนให้กับหมอลำกลอนเมื่ออายุได้ 14 ปี โดยเป่าแคนให้หมอลำบัวผัน ดาวคะนอง, หมอลำคำพัน ฝนแสนห่า, หมอลำวิรัติ ม้าย่อง โดยได้รับค่าตอบแทนในตอนนั้นเป็นจำนวนเงิน 500 บาท และได้ยึดอาชีพหมอแคนมาจนถึงปัจจุบัน
ผลงาน
ร่วมบรรเลงในวงแกนอีสาน ของวิทยาลัยครูมหาสารคาม เพื่อทำการบันทึกเสียง
    เป็นวิทยากรให้กับสถานศึกษาต่างๆ เช่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร.ร.บรบือวิทยาคาร

เป่าแคนให้บานเย็น รากแก่นลำ
   ประชันกับอาจารย์ทินกร วงโปงลางอุบลฯ        
ร่วมแสดงกับวงดนตรี เช่น วงฟองน้ำ, หงา คาราวาน, สนธิ สมมาตร , สายันต์ สัญญา ฯลฯ
    ได้รับเชิญจากรายการ ทไวไลท์โชว์ ในช่วง ทอล์คโชว์
    ร่วมบรรเลงแคนประยุกต์กับดนตรีรูปแบบต่างๆ ในรายการ คุณพระช่วย
    บันทึกเทป เดี่ยวแคน บริษัทชัวร์ ออดิโอ
    สอนเป่าแคนให้แก่ ประชาชน และผู้สนใจทั่วไป ในเวลาว่าง
 สถานภาพครอบครัว
 สมรสแล้วกับ นางนิว สิมหล้า (นิว ทึนหาญ) และมีบุตรสาว 1 คน ชื่อ เด็กหญิง สุพัตรา สิมหล้า 


 ประวัติครู พิณอีสาน ระดับเทพ
ครูทองใส ทับถนน คือ หนึ่งในจำนวนปราชญ์ศิลปิน ของจังหวัดอุบลราชธานี ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านศิลปะการแสดง คือ การดีดพิณ ลีลาลายพิณโบราณจากพิณสองสายและท่วงทำนองการดีดพิณของครูทองใส ได้รับการยอมรับว่า คือ มือพิณชั้นครู ระดับปรมาจารย์มีลูกศิษย์จากทุกสารทิศมาเรียนรู้มากมาย ทั้งที่ครูทองใสเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่ง อาชีพหลัก คือ การทำนา จบการศึกษาแค่ชั้น ป.๔ แต่มีความรู้ความสามารถทางด้านศิลปะการแสดง จนได้รับการยกย่องว่าเป็นครูภูมิปัญญาไทยทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ทางด้านการดีดพิณของตนเองให้กับคนทั่วไปได้เรียนรู้ ชีวิตครูทองใส ทับถนน คนดีดพิณ ศิลปินมือพิณพื้นบ้าน จากวงดนตรีลูกทุ่งอีสาน เพชรพิณทอง มีความเป็นมาอย่างไร จึงเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจในการศึกษาค้นคว้าและนำมาเสนอ ให้คนทั่วไปได้รับรู้ถึง ประวัติชีวิต การเรียนรู้ ประสบการณ์ทำงาน ทั้งที่ประสบความสำเร็จเป็นทั้ง ประสบการณ์ และ บทเรียน เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของคนรุ่นหลังต่อไป


ประวัติหมอลำแม่ฉวีวรรณ ดำเนิน(พันธุ)

ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน                                
สาขาดนตรี และศิลปะการแสดง (หมอลำ)          
ประจำปี พ.ศ. 2535

ในบรรดาศิลปินหมอลำรุ่นเก่ามิตรหมอแคนแฟนหมอลำคงคุ้นเคยกับ ชื่อ ฉวีวรรณ ดำเนิน หมอลำสาวเสียงเสน่ห์ได้เป็นอย่างดี กลอนลำล่องหลายต่อหลายกลอนล้วนอยู่ในใจของผู้ฟังมาเนิ่นนาน
กลอนลำนี้กล่าวถึงประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสาน คือ ประเพณเลี้ยงปู่ตาประจำ หมู่บ้าน (ผีตาแฮก) ซึ่งจะต้องเลี้ยงทุกปีในวันพุธแรกของเดือนหก (เดือนพฤษภาคม) ก่อนการทำนาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวไร่ชาวนา และทำนายทายทักดวงชะตาของหมู่บ้าน ตลอดจนพยากรณ์ฝนฟ้าอากาศในแต่ละปี

นางฉวีวรรณ พันธุ เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ที่บ้านหนองไหล ตำบลสร้างคอน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ นายชาลี ดำเนิน มารดาชื่อ นางแก้ว ดำเนิน อาชีพทำนา เริ่มการศึกษาที่ โรงเรียนบ้านหนองไหล จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สมรสกับนายโกมินทร์ พันธุ มีบุตร 2 คน ชาย 1 คน หญิง 1 คน
รางวัลและการเชิดชูเกียรติ
1. โล่ชนะเลิศการประกวดหมอลำงานเจ้าพ่อพระยาแล ชัยภูมิ ในปี พ.ศ.2514
2. ชนะเลิศการประกวดหมอลำทุ่งศรีเมืองอุดรธานี ปี พ.ศ. 2522
3. เกียรติบัตรจากศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น กรุงโตเกียว ชุดรำแม่บทอีสาน 48 ท่า พ.ศ.2527
4. โล่ศิลปินดีเด่นของภาคอีสานจาก พณฯ นายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ.2528
5. โล่เกียรติคุณตณะส่งเสริมประสานงานเยาวชนแห่งชาติ รางวัลดีเด่นในการผลิตสื่อมวลชชนดีเด่น เพื่อเยาวชน ประเภทสื่อชาวบ้าน พ.ศ.2529
6. โล่เกียรติคุณจากสาธารณสุข โครงการอีสานไม่กินปลาดิบ ปี พ.ศ.2532-2535
7. ถ้วยเกียรติยศการประกวดหมอลำ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน ปี พ.ศ.2533
8. เกียรติบัติจาก C.L.OF.F. งานมหกรรมวัฒนธรรมพื้นบ้านเอเซีย ครั้งที่ 3 ในประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ.2535

ปัจจุบันทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการแสดงภาคอีสาน (หมอลำ) สอนลูกศิษย์ลูกหา ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ให้รู้จักและสืบสานวัฒนธรรมอีสาน ที่ วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด