ยังบ่อหมดเสียงพิณยังบ่อสิ้นเสียงแคนกะยังบ่อสิ้นหมอลำตาบได๋ที่คนอีสานยังบ่อลืมบ้านเฮาหมอลำกะสิบ่อหมดไป สวัดดีครับพี่น้อง ขอต้อนรับเข้าสู่ หมอลำ บ้านวังเยี่ยม ดอทคอม ศูนย์รวมหมอลำ ซิ่ง และ หมอลำเรื่องต่อกลอน และ งานประเภณีต่างๆทางภาคอีสานบ้านเฮามาให้พี่น้องได๋เบิงได๋ชมกันเด๋อครับ
ประวัฒิแคน
แคน เป็นชื่อเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ แคนเป็น เครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป่าให้เป็นเพลง ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้ แต่ก็มีประวัติที่เล่า เป็นนิยายปรัมปราสืบต่อกันมา ดังต่อไปนี้


หญิงหม้ายผู้คิดประดิษฐ์ทำแคน


กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพรานคนหนึ่งได้ไปเที่ยวล่าเนื้อในป่า เขาได้ยินเสียงนกกรวิก (นกการเวก) ร้องไพเราะจับใจมาก เมื่อกลับมาจากป่าถึงบ้าน จึงได้เล่าเรื่องที่ตัวเองไปได้ยินเสียง นกกรวิกร้องด้วยเสียงไพเราะนั้นให้แก่ชาวบ้าน เพื่อนฝูงฟัง ในจำนวนผู้ที่มาฟังเรื่องดังกล่าวนี้มี หญิงหม้ายคนหนึ่งเกิดความกระหายใคร่อยากจะฟังเสียงร้องของนกกรวิกยิ่งนัก จึงได้พูดขอร้อง ให้นายพรานล่าเนื้ออนุญาตให้ตนติดตามไปในป่าด้วย เพื่อจะได้ฟังเสียงร้องของนก ตามที่นาย พรานได้เล่าให้ฟัง ในวันต่อมาครั้นเมื่อนายพรานล่าเนื้อได้พาหญิงหม้ายดั้นด้นไปถึงในป่า จนถึง ถิ่นที่นกกรวิก และนกเหล่านั้นก็กำลังส่งเสียงร้องตามปกติวิสัยของมัน นายพรานก็ได้กล่าวเตือน หญิงหม้ายให้เงี่ยหูฟังว่า
"นกกรวิกกำลังร้องเพลงอยู่ สูเจ้าจงฟังเอาเถอะ เสียงมันออนซอนแท้ แม่นบ่"
หญิงหม้ายผู้นั้น ได้ตั้งใจฟังด้วยความเพลิดเพลิน และติดอกติดใจในเสียงอันไพเราะ ของนกนั้นเป็นยิ่งนัก ถึงกับคลั่งไคล้ใหลหลง รำพึงอยู่ในใจตนเองว่า
"เฮ็ดจั่งได๋นอ จั่งสิได้ฟังเสียงอันไพเราะ ม่วนชื่น จับใจอย่างนี้ตลอดไป ครั้นสิคอยเฝ้า ฟังเสียงนกในถิ่นของมัน ก็เป็นแดนดงแสนกันดาร อาหารก็หายาก หมากไม้ก็บ่มี" จึงได้คิดตัดสิน แน่วแน่ในใจตนเองว่า
"เฮาสิต้องคิดทำเครื่องบังเกิดเสียง ให้มีเสียงเสนาะ ไพเราะออนซอนจับใจ ดุจดังเสียง นกกรวิกนี้ให้จงได้"
เมื่อหญิงหม้ายกลับมาถึงบ้าน ก็ได้คิดอ่านทำเครื่องดนตรีต่าง ๆ ทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า หลาย ๆ อย่าง ก็ไม่มีเครื่องดนตรีชนิดใดมีเสียงไพเราะวิเวกหวานเหมือนเสียงนกกรวิก ในที่สุดนาง ได้ไปตัดไม้ไผ่น้อยชนิดหนึ่ง เอามาประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง แล้วลองเป่าดู ก็รูสึก ค่อนข้างไพเราะ จึงได้พยายามดัดแปลงแก้ไขอีกหลายครั้งหลายครา จนกระทั่งเกิดเป็นเสียงและ ท่วงทำนองอันไพเราะเหมือนเสียงนกกรวิก จนในที่สุดเมื่อได้แก้ไขครั้งสุดท้ายแล้วลองเป่าก็รู้สึก ไพเราะออนซอนดีแท้ จึงคิดที่จะไปทูลเกล้าถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้ทรงทราบ
ก่อนที่จะได้เข้าเฝ้า นางก็ได้เพียรพยายามปรับปรุงแก้ไขเสียงดนตรีของนางให้ดีขึ้นกว่า เดิม และยังได้ฝึกหัดเป่าเป็นท่วงทำนองต่าง ๆ จนมีความชำนาญเป็นอย่างดี
ครั้นถึงกำหนดวันเข้าเฝ้า นางก็ได้เป่าดนตรีจากเครื่องมือที่นางได้คิดประดิษฐ์ขึ้นนี้ ถวาย เมื่อเพลงแรกจบลง นางจึงได้ทูลถามว่า
"เป็นจั๋งได๋ ม่วนบ่ ข้าน้อย"
พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ตรัสตอบว่า "เออ พอฟังอยู่"
นางจึงได้เป่าถวายซ้ำอีกหลายเพลง ตามท่วงทำนองเลียนเสียงนกกรวิกนั้น เมื่อจบถึง เพลงสุดท้าย พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงตรัสว่า "เทื่อนี่ แคนแด่" (ครั้งนี้ ดีขึ้นหน่อย)
หญิงหม้าย เจ้าของเครื่องดนตรี จึงทูลถามว่า "เครื่องดนตรีอันนี่ ควรสิเอิ้นว่าจั่งได๋ ข้าน้อย" (เครื่องดนตรีนี้ ควรจะเรียกว่าอย่างไร พระเจ้าข้า)
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงตรัสว่า "สูจงเอิ้นดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำเว้าของเฮา อันท้ายนี้ สืบไปเมื่อหน้าเทอญ" (เจ้าจงเรียกดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำพูดของเราตอนท้ายนี้ ต่อไปภายหน้าเถิด)
ด้วยเหตุนี้ เครื่องดนตรีที่หญิงหม้ายประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ไม้ไผ่น้อยมาติดกันใช้ปากเป่า จึงได้ชื่อว่า "แคน" มาตราบเท่าทุกวันนี้
นี่เป็นเพียงนิทานปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมา ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน


บางท่านก็สันนิษฐานว่า คำว่า "แคน" คงจะเรียกตามเสียงเครื่องดนตรีที่ดังออกมาว่า "แคนแล่นแคน แล่นแคน แล่นแคน" ซึ่งเป็นเสียงที่ดังออกมาจากการเป่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ แต่ บางคนก็มีความเห็นว่า คำว่า "แคน" คงเรียกตามไม้ที่ใช้ทำเต้าแคน กล่าวคือ ไม้ที่นำมาเจาะใช้ ทำเต้าแคนรวมเสียงจากไม้ไผ่น้อยหลาย ๆ ลำนั้น เขานิยมใช้ไม้ตะเคียน ซึ่งภาษาท้องถิ่นทางภาค อีสานเรียกว่า "ไม้แคน" แต่บางท่านก็ให้ความเห็นที่แตกต่างกันออกไป

แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าคิดอยู่บ้างคือ "แคน" นี้น่าจะทำขึ้นโดยผู้หญิง ซ้ำยังเป็น "หญิงหม้าย" เสียด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่า ส่วนประกอบที่ใช้ทำแคนอันสำคัญคือส่วนที่ใช้ปากเป่า ยังเรียกว่า "เต้า แคน" และมีลักษณะรูปร่างเป็นกระเปาะคล้าย "เต้านม" ของสตรีอีกด้วย ทั้งการเป่าแคนก็ใช้วิธี เป่าและดูด จนสามารถทำให้เกิดเสียงอันไพเราะ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลสนับสนุนอีกข้อคือ คำที่ เป็นลักษณะนามเรียกชื่อและจำนวนของแคนก็ใช้คำว่า "เต้า" แทนคำว่า อัน หรือ ชิ้น ฯลฯ ดังนี้ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เสียงของแคนเป็นเสียงที่ไพเราะอ่อนหวาน ซาบซึ้งเหมือนเสียงนกการเวก ตาม นิทานเรื่องดังกล่าว เหมือนเสียงของหญิงหม้ายที่ว้าเหว่เดียวดาย ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่า "หญิงหม้าย" เป็นผู้ประดิษฐ์คิดทำแคนขึ้นเป็นคนแรก จึงเป็นเหตุผลที่น่ารับฟังได้มากพอสมควรทีเดียว


ลักษณะของแคนมีสองชนิด คือ แคนน้อย (ยาวศอก คืบ ยาวสองศอก ยาวสองศอกคืบ) และแคนใหญ่ (ยาวสามศอก ยาวสามศอกคืบ สี่ศอก สี่ศอกคืบ) ที่เคยใช้ในปัจจุบัน แต่ที่เคยมี ยาวถึงหกศอก แคนสองขนาดนี้แบ่งเป็นสองอย่าง คือ แคนเจ็ด และแคนแปด แคนเจ็ดนั้นมีลูกเจ็คู่ ส่วนแคนแปดนั้นมีลูกแปดคู่


ส่วนแคนของเผ่าลาวลุ่มนั้นมีหกคู่ และแคนของเผ่าลาวสูงมีแค่สามคู่เท่านั้น และใช้ท่อต่อเต้าสำหรับการเป่าตามธรรมดา


แคนลาวสูง ลาวลุ่ม ลาวเทิง


"แคน" ทำด้วยไม้อ้อ หรือไม้เหี้ยน้อย แต่เดี๋ยวนี้ไม้อ้อหาได้ยากเขาจึงทำแคนด้วยไม้เหี้ยน้อย และจะต้องหาให้ได้ลดขนาดเท่านิ้วมือจึงจะใช้ได้ นอกจากไม้เหี้ยน้อยซึ่งทำเป็นลูกแคนยาวลดหลั่นกันตามลำดับ 7 คู่ หรือ 8 คู่ ประกอบเข้ากันกับเต้า ติดสูด (ขี้สูด) ข้างบนและข้างล่างเต้า เพื่อไม่ให้ลมเป่าเข้าสูบออกรั่ว แล้วยังมีลิ้นแคน รูแพว และรูนับเสียงเป็นสิ่งสำคัญด้วย ข้างในของแต่ละลำไม้ลูกแคนประกอบด้วยลิ้นแคนหนึ่งอันที่มีหนึ่งเสียง และจะต้องเจาะรูแพวให้ถูกตามเสียงเสมอ วิธีเป่าแคนลาวลุ่มก็เหมือนกับการเป่าแคนลาวเทิง หรือ ลาวสูง คือจะต้องใช้อุ้งมือทั้งสองข้าง อุ้มเต้าแคนไว้แล้วเป่าหรือดูดสูบลมที่รูเต้า ส่วนนิ้วมือก็นับไล่ตามเสียงไปด้วย
มาฝึกเป่าแคนกันนะครับทุกท่านกับอาจารณ์ บุญเชียง ศรีนาโนน


โน๊ต

โน๊ตของแคนมีทั้งหมด 7 ตัว
แคน เป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงครบ 7 เสียง แคน 1 เต้าสามารถเล่นได้ประมาณ 3 คีย์เสียงเป็นอย่างน้อย เราจึงเห็นหมอแคนมีการเปลี่ยนเต้าแคนใหม่ เมื่อเป่าลายที่แตกต่างกัน เท่าที่สอบถามจากผู้รู้ และหมอแคนพบว่าที่นิยมใช้กัน จะมีเสียงคีย์หลักๆ ดังนี้
ลูกแคน    แคนแบบที่    ลายใหญ่    ลายน้อย    ลายเซ
1    Am    Dm    Em
2    Gm    Cm    Fm
3    Bm    Em    F#m
4    Dm    Gm    Am

  ดูต่อกดเลย

ลายแคน

มาดูลายแคนกันครับว่ามีทั้งหมดกี่ลาย
ลายเดี่ยวแคน

ลายล่องใหญ่

ลายเดี่ยวแคนล่องใหญ่  - - ด ล      - - ซ ม      - - ล ม       - - ซ ม      - - ร ม      - - ด ม      - - ร ม      - - ด ม
 - - ร ม      - - ด ม      - - ร ซ       - - ร ม      - - ล ม      - - ซ ล      - - ม ล      - - ซ ล
 - - ม ล      - - ซ ล      - - ด ล      - - ซ ล      - - ม ล      - - ซ ล      - - ด ล      - - ซ ล
 - - ด ล      - - ร ล      - - ด ล      - - ซ ล      - - ด ล      - - ร ล       - - ด ล      - - ซ ล
 - - ด ล      - - ร ล      - - ด ซ      - - ด ซ      - - ล ม      - - ล ม      - - ซ ม      - - ร ม
 - - ด ม      - - ร ม      - - ด ม      - - ร ม      - - ด ม      - - ร ซ      - - ร ม      - - ล ม
 - - ซ ร      - - ม ด      - - ม ร      - - ม ซ      - - ม ร       - - ม ด      - - ม ร      - - ด ท
 - - ด ร      - - ม ด      - - ม ร      - - ด ล      - - ร ล      - - ด ซ      - - ด ซ      - - ล ม
 - - ท ล      - - ท ซ      - - ล ซ      - - ท ล      - - ร ท      - - ร ล      - - ท ล      - - ท ซ
 - - ล ซ      - - ล ด      - - ร ซ       - - ร ม      - - ล ม      - - ซ ม      - - ร ซ      - - ร ม
 - - ล ม      - - ซ ม      - - ร ซ       - - ร ม      - - ล ม      - - ซ ร      - - ซ ร      - - ม ด
 - - ล ร      - - ล ด      - - - ร      - - ด ร      - - - ด      - - - -      - - - ล      - - - -

ลายเดี่ยวแคนสุดสะแนน

เกริ่น

                               - - - -      - - - ซ      - - - -
 ซ ม ด ม      ด ม ร ด      ร ด ล ด      ร ด ซ ล      ด ล ด ล      ด ร ซ ม      ร ด ล ด      ร ล ด ล
 ร ด ล ด      ซ ล ด ม      - ด ร ด      ล ซ - ร~      - - - ร      - - - -      - - - -      - - - -

ท่อนที่ 1

 - - - ซ      - - - -      - ล ซ ลด'      - - ร' ล      ด' ล ซ ซ      ม ร ล ด      ร ม ด ร~      - ร ด ซ
 ล ซ ซ ซ      ร' ล ด' ล      ซ ม ด ร        - ร ด ซ      ล ม ซ ล      ด ม ร ด      ล ด - ด      - - - -
 ร ร - /ซ      ม ซ - ซ      ม ซ ม ซ      - ลร* ซล* มล*       - - - ซ      ม ซ - ซ      ม ซ ม ซ      - ลร* ซด'* ม
 - - ซ ล      ด ล ซ ล     - - ซ ล      ด ล ซ ม      ล ม ซ ล      ด ม ร ด      - - - -      - - - -
 ล ล ด ด      ล ด - ล      ด ม ร ด      ล ล ด ร      - - ด ซ      ล ม ซ ล      ล ม ร ด      ล ด - ด
 ร ร -/ซ      ม ซ - ซ       ม ซ ม ซ      - ล ซ ม      - - ซ ล      ด ล ซ ล      - - ซ ล      ด ล ซ ม
 ล ม ซ ล      ด ม ร ด      ล ล ด ด      ล ด - ล      ด ม ร ด      ล ล ด ร      - - - -      - - - -
 - ร ด ซ      ล ม ซ ล      ด ม ร ด      ล ด - ด      - - - -      - - -      - - - -      - - - -
 ร ร - /ซ      ม ซ - ซ      ม ซ ม ซ      - ม ซ ลด'      - - ร' ล      - - ด' ซ      ล ม ซ ม      ร ม ร ด
 ล ล ด ด      ล ด - ล      ด ม ร ด      ล ล ด ร      - - ด ล ซ      - ม ซ ล      ด ม น ด      ล ด - ด
 ร ร - /ซ       ม ซ - ซ      ม ซ ม ซ        - ล ม ซ       - - ซ ล      ด ล ซ ม      ล ม  ซ ล       ด ม ร ด
ล ด ล /ซ      - ม ซ ล      ด ม ร ด       ล ล ด ร      - ร ด  /ซ      ล ม ซ ล      ด ม ด ร      - ล ม ซ
 ร ร /ร      - ฟ - ฟ       ด ม ด ร      - ล ม ซ      ร ม ร ฟ      - ฟ - ฟ      ด ม ด ร      - ล ม ซ
 ร ม ร /ด      ร ด ซ ล      ม ม ซ ด      ร ม ร ด      ล ด ล /ซ      - ซ - ม      ซ ร ล ด      ซ ม ด ร
 ม ซ ล /ด      ซ ล ซ ม      ล ม ซ ด      ร ม ด ร      - ซ - -      - ซ - ม      ซ ล ซ ม      ด ด ม ร

ท่อนที่ 2

 - - - ด      - ล -  { ด      - ล ด ร} 6 รอบ        - - - ด      - - - -      - - - -      - - - -      - - - -
 ล ด ล /ด      ร ล ด ล      ร ด ล ด      ร ล ด ม      ร ด ร /ด      ล ด ร ม      ด ม ~ - ด      ร ด ล ด
 ร ม ด /ม      ซ ด ล ด      ล ด ร ล       ด ม ร ด      ร ด ล /ด        ร ล ด ม      ร ด ร ด      ล ด ร ม
 ด ม~ - /ด      ร ด ล ด      ร ล ล ด       ร ด ล ด      ร ล ล /ม      ร ม ซ ด      ล ซ ล ด      ร ล ด ม
 ร ด ร /ด      ล ด ร ล      ด ล ล ด      ร ด ล ด      ด ม ซ /ม      ร ด ร ด      - - ล ซ       - - - -
 - - ม ด      ร ม ด ม      ร ด ร ด      ล ร ด ล      - - ม ร      ซ - - -      - - - ม~      - - - -
 - - ร ด      - - ร ด      - - ล ซ      - - - ล                     

ประวัฒิแคน

ประวัฒิ และที่มาของแคนทางภาคอีสาน

ฟ้อนเซิ้งแคน
ประวัติความเป็นมาของแคน
แคนเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของชาวอีสาน เป็นเอกลักษณ์ด้านดนตรีตัวแทนความเป็นคนอีสาน มีเสียงอันเป็นธรรมชาติ มีความไพเราะลึกซึ้งกินใจ ดังในวรรณคดี "ท้าวก่ำกาดำ ได้กล่าวถึงความไพเราะของแคนไว้อย่างมีอารมณ์ว่า


"ท้าวก็เป่าจ้อยๆ อ้อยอิ่งกินนารี
เสียงแคนดังม่วนแม้งพอล้มหลุดตายไปนั้น
ปรากฏดังม่วนก้องในเมืองอ้อยอิ่น
สาวฮามน้อยวางหลามาเบิ่ง
บางผ่องปะหลาไว้วางไปทั้งก็มี
ฝูงคนเฒ่าเหงานอนหายส่วง
ฝูงพ่อฮ้างคิดฮ่ำคะนิงเมีย
เป็นที่อัศจรรย์แท้เสียงแคนท้าวก่ำ
ฝูงกินข้าวคาคอค้างอยู่
บ่มีไผไออิจามไอสงัดอยู่" บุญมีเลยเป่าแถลงดังก้อง
ท้าวก็เป่าจ้อยๆ คือเสียงเสพเมือสวรรค์
เป็นที่ใจม่วนดิ้นดอมท้าวเป่าแคน
เข่าก็บบฟั่งฟ้าวตีนต้องถือตอ
บางผ่องเสื้อผ้าหลุดออกซ้ำเลยเต้นแล่นไปก็มี
สาวแม่ฮ้างคะนิงโอ้อ่าวผัว
เหลือทนทุกข์อยู่ผู้เดียวนอนแล้ง
ไผได้ฟังม่วนแม้งใจสล่างหว่างเว
ฝูงอาบน้ำปะผ้าแล่นมา

อ่านรายละเอียดเรื่อง แคน เพิ่มเติม


การทำแคน

อุปกรณ์การผลิต

1. ไม้เนื้อแข็ง  เช่นไม้ประดู่  ไม้แดง  ไม้น้ำเกลี้ยง  ( ไม้รัก )

2. ไม้เฮี้ย  ( ไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง )

3. เหล็กแหลมเจาะรู ( เหล็กซี )

4. ลิ้นแคนซึ่งทำจากโลหะผสมของเงินและทองแดง

5. ขี้ผึ้งเหนียว ( ขี้สูตร )

 วิธีการผลิต

ชาวบ้านจะไปตัดไม้เฮี้ยจากบนภูเขาไปขายให้แก่ช่างแคน  เดิมก็ใช้เกวียนบรรทุกไป  แต่ปัจจุบันใช้รถบรรทุกขนไป  ราคาขายปลีกมัดละ  10  บาท  มัดหนึ่ง  ๆ  ชาวบ้านเรียกว่า  “หลาบ”  ๆ  ละ  16  กู่  ซึ่งใช้ทำแคนได้  1  เต้า  (ส่วนมากเรียก  “ดวง”)

                เมื่อช่างแคนได้ไม้กุ่แคนมาแล้วก็จะตากให้แห้ง  จึงนำมาเจาะทะลุข้อและคัดให้ตรงแล้วคัดเป็นท่อนตามขนาดที่ต้องการใช้  ต่อจากนี้ก็เจาะลิ้น  รูแพว

                สำหรับลิ้นนั้นทำจากโลหะ  เช่น  ทองเหลือง  ทองแดง  หรือโลหะผสม  คือ  ทองแดงผสมเงินซึ่งจะมีช่างโลหะโดยตรงเป็นผู้ผสมและตีเป็นมาตรฐานมาให้ช่างแคน  ช่างแคนก็จะนำมาตัดเป็นเส้นและตีให้เป็นแผ่นบาง  ๆ  ให้ได้ขนาดที่จะสับเป็นลิ้นแคน   นำลิ้นแคนไปสอดใส่ไว้ในช่องรูลิ้นของกู่แคนหรือลูกแคนแต่ละลูก

                เต้าแคนช่างแคนทำจากไม้ประดู่หรือไม้นำเกลี้ยง  (ไม้รัก)  ถ้าเป็นไม้ประดู่คู่นิยมใช้รากเพราะตัดหรือปาดง่ายด้วยมีดตอก  ใช้สิ่วเจาะให้กลวงเพื่อเป็นที่สอดใส่ลูกแคนและเป็นทางให้ลมเป่าผ่านไปยังลิ้นแคนได้สะดวก  เมื่อสอดใส่ลูกแคนเข้าไปในเต้าแล้วต้องใช้ขี้สูตร  หรือขี้แมงน้อยก็เรียก  ขี้สูตรนี้เข้าใจว่าเป็นพวกสารพวกขี้ผึ้งดำ  ได้จากรังของแมลงชนิดหนึ่งคล้ายมิ้มหรือผึ้งเล็กแมลงชนิดนี้ชาวบ้านเรียกว่าแมงน้อยหรือแมงขี้สูตร  เดิมทีเดียวคงเรียกว่าแมงน้อย  แต่เมื่อนำมาเป็นชันอุดและเชื่อมลูกแคนเข้ากับเต้าแคน  และใช้สำหรับปิดรูนับรูเสียงเสพหรือที่ชาวผู้ไทยเรียกเสียงกล่อม  ทำให้เป่าแคนเป็นทำนองลีลาต่างกันออกไป  เกิดเป็นสูตรเพลงแคนขึ้นมาเป็นลายน้อยลายใหญ่และอื่น  ๆ  ขึ้นมา  ขี้แมงน้อยก็กลายเป็นขี้  “สูตร”  แทนคำว่า  “ขี้สูด”  บังคับให้เกิด  “สูตร”  เพลงแคนขึ้นมา  ข้าพเจ้าจึงใช้คำว่า  “ขี้สูตร”  แทนทำว่า  “ขี้สูด”

 ระบบเสียง  เนื่องจากแคนมีหลายชนิด  หากจะแบ่งตามจำนวนลูกแคนเป็นคู่  ๆ  ก็จะแบ่งได้เป็นแคนสาม  (ปกติเรียกกันว่าแคนหก  เพราะมีหกลูกหรือสามคู่)  แคนสี่แคนห้า  (แคนหกข้าพเจ้ายังไม่เคยพบ – หมายถึงแคนที่มีหกคู่หรือสิบสองลูก)  แคนเจ็ด  แคนแปด  และแคนเก้า  ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะแคนแปดซึ่งเป็นแคนที่นิยมใช้แพร่หลายที่สุด

                ระบบของแคนแปดมีเสี้ยงทั้งหมด  16  เสียง  แต่เป็นระดับเสียงที่ซ้ำกันเสีย  2  เสียง  ฉะนั้นจึงมีเสียงที่มีระดับแตกต่างกันทั้งหมด  15  เสียง  เรียงลำดับจากต่ำไปสูงดังนี้  คือ  ลา  ที  โด  เร  มี  ฟา  ซอล  (ซอล)  ลา  ที  โด  เร  มี  ฟา  ซอล  ลา  แต่เสียงทั้ง   16  เสี้ยงนี้มิได้เรียงลำดับอย่างเสียงระนาดหรือเสียงเปียโน  หากแต่เสียงเหล่านี้นำไปเรียงกันเข้าไปในลักษณะที่คล้ายคลึงกับการเรียงตัวอักษรของพิมพ์ดีด  ทั้งนี้เพื่อสะดวกและเหมาะสม  ในการบรรเลงเพลงพื้นบ้านและลักษณะการประสานเสียงทางดนตรีของชนแต่ละกลุ่ม

 วิธีเล่นและการฝึกหัด  การฝึกหัดเป่าก็เหมือนกับการฝึกหัดเครื่องดนตรีอื่น  ๆ  คือ  เรียนด้วยตนเองจากการสังเกตจดจำจากที่เคจได้ยินได้ฟัง  ผู้จะฝึกหัดนิยมไปหาซื้อแคนมาเองค่อยศึกษาคลำทางทีละนิดละหน่อย  ถ้ามีโอกาสที่จะขอคำแนะนำจากผู้ที่เป่าเป็นแล้ว  เมื่อจำทำนองอันใดได้ก็เอามาประติดประต่อเป็นของตนเอง  แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้ฝึกหัดจำเป็นต้องรู้ก็คือต้องรู้ตำแหน่งของเสียงแคนว่าลูกใดเป็นเสียงลูกใดคู่กับลูกใด  นอกจากนี้ยังต้องรู้ตำแหน่งของนิ้วมือด้วยว่านิ้วใดใช้กดหรือนับลูกใดบ้าง

                เนื่องจากแคนแปดมีลูกแคนข้างละแปดลูกจำเป็นต้องแบ่งหน้าที่ให้เป็นระบบดังนี้คือ

                1.  หัวแม่มือ  มีหน้าที่กอไว้เฉพาะลูกที่หนึ่ง  (ลูกที่อยู่ใกล้ที่เป่าที่สุด)

                2.  นิ้วชี้  มีหน้าที่กดได้สองลูกคือลูกที่สองกับลูกที่สาม

                3.  นิ้วกลาง  มีหน้าที่กดได้สองลูกคือลูกที่สี่กับลูกที่ห้า

                4.  นิ้วนางกดได้สองลูกคือ ลูกที่หกกับลูกที่เจ็ด

                5.  นิ้วก้อย  มีหน้าที่กดได้ลูกเดียวคือลูกที่แปด  คือลูกเล็กที่สุดที่อยู่ปลายสุด

โอกาสที่เล่นและการผสมวง

                แคนเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดของชาวอีสาน  เพราะการบรรเลงดนตรีทุกอย่างของชาวอีสานจะต้องอิงแคนเป็นหลัก  และทำนองเพลงของเครื่องดนตรีต่าง  ๆ  ก็ล้วนแต่ยึดแบบอย่างของเพลงแคนทั้งสิ้น  ในสมัยโบราณพวกหนุ่มผู้นิยมเป่าแคนดีดพิณเดินเลาะบ้านไปคุยสาว  หรือไม่ก็ในงานบุญพระเวสฯ  พวกหนุ่มก็จะพากันเป่าปีเป่าแคน  ดีดพิณ  สีซอ  เลาะตามตูบหรือผาม  (ปะรำ)  พร้อมกับเกี้ยวสาวไปด้วยซึ่งเรียกว่า  “ลำเลาะตูบ”  แต่ในปัจจุบัน  ประเพณีต่าง  ๆ  เหล่านี้สูญไปแล้ว  จึงเหลือแต่การบรรเลงประกอบลำและประกอบฟ้อนในงานที่มีการจ้างหาในรูปแบบอื่น  ๆ

เพลงแคน  เพลงแคนจะแยกออกเป็น  4  ประเภท  ดังนี้

                1.  เพลงหลัก  5  เพลง  ได้แก่  ลายใหญ่  ลายน้อย  ลายสุดสะแนน  ลายโป้ซ้ายและลายส้อย  คำว่า  “ลาย”  จะมีความหมายตรงกับ  “โมด”  ในดนตรีฝรั่งและต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงลายแคนทั้ง  5  ดังนี้

                     1.  ลายใหญ่  เป็นลายที่มีเสียงต่ำ  เมื่อก่อนจะเป่าเป็นจังหวะช้ามาก  ๆ  แต่ปัจจุบันมีลายจังหวะด้วยกัน  เช่น  ลายใหญ่  ธรรมดา  หรือลายใหญ่หัวตกหมอน  หรือลายใหญ่กะเลิง  ลายใหญ่ภูเขียวภูเวียงและลายใหญ่สาวหยิกแม่  (ในจังหวะเร็วมาก)  ในลายใหญ่ใช้ห้าเสียงเทียบได้กับเสียง  A,  B,  C,  E  และ  G ติดสูดที่   e  กับ   a         

                     2.  ลายน้อย  มีมาตราเสียงแบบเดียวกับลายใหญ่  คือ  ช้าและเศร้าที่เรียกว่าลายน้อยเพราะมีระดับเสียงสูงมาก  และความยุ่งยากสับสนในการนับนิ้วนับเสียงก็ต่างกัน  ลายน้อยอาจจะเรียกได้อีกชื่อว่า  “ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก”  เพราะว่ารเป็นทำนองเศร้ามากคล้าย  ๆ  กับความรู้สึกของแม่หม้ายที่กำลังกล่อมลูกน้อยให้นอนมาตราเสียงของลายน้อยจะเทียบได้กับ D,  F,  A  และ  C  ติดสูดที่  d  และ  a

                    3.  สายสุดสะแนน  เป็นลายที่นิยมที่สุดสำหรับการบรรเลงประกอบหมอลำ  “สุด”  หมายถึง  ใกล้ที่สุด  “สะแนน”  หรือ  “สายแนน”  หมายถึง  เส้นหรือเชือกแห่งความรักดังนั้น  “สุดสายแนน”  อาจจะแปลว่า  “สุดสายสัมพันธุ์แห่งความรัก”  บางแห่งเรียกว่าสายสุดเมร  หรือลายสุดสุเมรุ  สายสุดสะแนนใช้เสียง  C,  D,  E,  G  และ  a  ติดสูดที่    c  และ  g  

                    4.  ลายโป๊ะซ้าย  ใช้มาตราเสียง  F, G, A, C  และ  D    ติดสูดที่ C   และ  G  มีทำนองเดียวกันกับลายสุดสะแนน  แต่เป็นด้วยความยากง่ายของการนับเสียงจึงแตกต่างจากลายสุดสะแนน   ที่เรียกว่า  ลายโป้ซ้าย  ก็เพราะว่ารูติดสูดรูหนึ่งต้องปิดด้วยหัวแม่มือซ้าย

                    5.  ลายสร้อย  ส่วนมากลายนี้ใช้เล่นเดี่ยวมากกว่าเล่นประกอบหมอลำ  ลายนี้เทียบได้กับเสียงใน  G,  A,  B,  D,  E  ติดที่สูด  d  และ  a  เหมือนกับลายน้อย  ลายสร้อยมีทำนองเช่นกับโป้ซ้าย  ยากที่จะแยกเสียงระหว่างลายสร้อยกับโป้ซ้ายแต่โดยทั่วไปแล้ว  ลายสร้อยมีเสียงสูงกว่าลายโป้ซ้ายที่เรียกว่าลายสร้อยก็เพราะมีเสียงแหลมสูงมาก

                ลายแคนที่เป็นหลักอีกลายชื่อว่า  “ลายเซ”  ซึ่งใช้กับเสียง  E,  G,  A,  B  และติดสูดที่เสียง  b  และ  e  ลายเซจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับลายน้อยและลายใหญ่  ซึ่งเป็นเพลงมาตราเสียงโศ