ยังบ่อหมดเสียงพิณยังบ่อสิ้นเสียงแคนกะยังบ่อสิ้นหมอลำตาบได๋ที่คนอีสานยังบ่อลืมบ้านเฮาหมอลำกะสิบ่อหมดไป สวัดดีครับพี่น้อง ขอต้อนรับเข้าสู่ หมอลำ บ้านวังเยี่ยม ดอทคอม ศูนย์รวมหมอลำ ซิ่ง และ หมอลำเรื่องต่อกลอน และ งานประเภณีต่างๆทางภาคอีสานบ้านเฮามาให้พี่น้องได๋เบิงได๋ชมกันเด๋อครับ

มุมฝึกหัด

มุมนี้ขอต้อนรับทุกท่านที่สนใจที่จะเรียนดีดพิณเด๋อคร้าบ

พิณ เสียงเพรียกจากอีสาน
ความรู้เกี่ยวกับพิณทั่วไป | การตั้งเสียงพิณแบบต่างๆ | โน๊ตลายพิณ
ทองใส ทับถนน ขุนพลพิณอีสาน การขึ้นสาย/ตั้งสายพิณ
การขึ้นสายพิณ หรือการตั้งสายพิณ หรือการตั้งเสียงพิณ นั้นจะพบว่ามีความแตกต่างกันตามลักษณะของพิณว่า มีกี่สาย และใช้เล่นเพลงแบบใด พบว่ามีอยู่ 4 ลักษณะ ดังนี้
แถบอีสานกลาง ในแถบบริเวณจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ จะใช้พิณแบบ 2-3 สาย โดยมีการตั้งสายดังนี้
ตั้งเสียงพิณ 3 สายแบบอิสานกลาง
สายที่ 1 สายล่างเสียง ม (E) สายที่ 2 สายกลางเสียง ล (A) สายที่ 3 สายบนเสียง ม (E)
แบบโบราณดั้งเดิม จะใช้พิณแบบ 2 สายหรือ 3 สาย จะมีการตั้งสายและเฟรตไม่ค่อยแน่นอน แล้วแต่ลายเพลงที่เล่น โดยมีการตั้งสายดังนี้

การตั้งสายพิณแบบโบราณดั้งเดิม
สายที่ 1 สายล่างเสียง ม (E) สายที่ 2 สายกลางเสียง ล (A) สายที่ 3 สายบนเสียง ล (A)

แบบ 2 สายทางอุบลราชธานี จะใช้พิณแบบ 2 สายหรือ 3 สาย จะมีการตั้งสายครั้งเดียว นิยมเล่นกับขบวนแห่ หมอลำเพลิน หมอลำหมู่ ดนตรี หมอลำซิ่ง โดยมีการตั้งสายดังนี้

การตั้งพิณ 2 สายแบบทางอุบลราชธานี
สายที่ 1 สายล่างเสียง ร (D) สายที่ 2 สายกลางเสียง ล (A)

แบบพิณ 4 สาย พิณชนิดนี้ประดิษฐ์ขึ้นโดยลูกหลานเมืองอุบลราชธานี นายคณาวิจก์ โถตะบุตร เมื่อปี 2524 ซึ่งสามารถเล่นได้หลายระดับเสียง รวมทั้งเล่นคอร์ดได้คล้ายกับกีตาร์ จึงสามารถเล่นร่วมกับเพลงลูกทุ่ง หมอลำ หรือเพลงสากลอื่นๆ โดยไม่ต้องใช้กีตาร์ มีการตั้งสายดังนี้

การตั้งสายพิณแบบ 4 สาย
สายที่ 1 สายล่างเสียง ร (D) สายที่ 2 สายกลางเสียง ล (A) สายที่ 3 สายกลางบนเสียง ม (E) สายที่ 4 สายบนเสียง ล (A)

ซึ่งการตั้งสายพิณแบบ 4 สายนี้จะทำให้ได้เสียงที่ตรงกับเสียงเครื่องดนตรีสากล สามารถร่วมบรรเลงไปด้วยกันได้ มีเสียงครบตั้งแต่ โด (ด = C), เร (ร = D), มี (ม = E), ฟา (ฟ = F), ซอล (ซ = G), ลา (ล = A), ที (ท = B) และยังมีครึ่งเสียงทั้งสูงกว่าเสียงเดิม ชาร์ฟ (#) และที่มีเสียงต่ำกว่าเสียงเดิมครึ่งเสียง แฟท (b)

หลักการเล่นพิณ
จับที่ดีด (หรือปิก) ตามถนัด แล้วฝึกดีดขึ้นลงในแต่ละสายให้คล่องโดยการสลัดข้อมืออย่างสม่ำเสมอ (ควบคุมจังหวะในการดีดให้สม่ำเสมอ)
เมื่อดีดคล่องแล้วให้ใช้นิ้วกดสายลงบนเฟรตที่ดีดให้ตรงกับสายที่ดีด
ฝึกไล่ลำดับเสียงตามตัวโน๊ตและตามชนิดของพิณ (ต้องทราบว่าพิณที่เราใช้ตั้งสายแบบใด)
รายละเอียดลูกเล่นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือฝึกจากการฟังเสียงจากต้นฉบับต่างๆ ให้แม่นยำ
ถ้าเป็นพิณไฟฟ้า สามารถต่อเข้ากับเครื่องปรับแต่งเสียง (Effect) ได้เหมือนกับกีตาร์ ให้ทดลองปรับแต่งเพื่อหาเอกลักษณ์ตามที่ต้องการ


  
เทคนิคการดีดพิณ อีสาน


การเรียนดนตรีหัวใจสำคัญคือ ผู้เรียนต้องฝึกฝน ฝึกท้องโน๊ต ฝึกร้องเพลง และอย่ายอมแพ้ต่อความเพียร

วิธีจับพิณ

*ผู้ดีดพิณสามารถนั่งหรื่อยืนดีดก็ได้ ท่านั่งควรวางตัวพิณไว้ขาขวาหรือขาซ้ายที่ถนัด สามารถนั่งได้หลายแบบ

เช่น นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ ตามแต่ผู้ที่ดีดถนัด การกำมือซ้ายที่ คอพิณ ควรกำอย่างหลวม เพื่อสามารถเคลื่อนย้ายนิ้ว

ไปตามคอพิณได้สะดวก โดยใช้หัวแม่มือซ้ายซ้ายดังรูปครับ

การวางนิ้ว

*การวางนิ้วบนคอพิณ ผู้ดีดควรใช้นิ้วชิ้ในขั้นหรือช่องคอพิณ ที่ 1 - 2 นิ้วกลางขั้นที่ 3 นิ้วนาง ขั้นที่ 4 หรือใช้นิ้วก้อยก็ได้ครับ

วิธีดีดพิณ

1. ผู้ดีดสามารถนั่งดีดหรือยืนดีดก็ได้ ท่านั่งควรวางตัวพิณไว้บนขาขวา ( ถ้าถนัดซ้ายก็วางไว้ขาซ้าย )

2. งอข้อศอกขวาเล็กน้อยแขนขวาวางบนขอบตัวพิณ มือขวาที่ใช้ดีด จับปิ๊กด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ หรือแล้วแต่ ( บางคนใช้นิ้วกลางแทนนิ้วชี้ )

3. เอียงคอพิณให้ทำมุมประมาร 30 - 70 องศา ครับ

4. ฝึกใช้ข้อมือเคลื่อนไหวจับปิ๊กดีดสายเปล่า สาย 1 - 2 - 3 ขึ้นลง สลับกันไปมา จากช้าแล้วค่อยๆ เร็วขึ้นจนเกิดความคล่องตัวครับ

5. เมื่อมือซ้ายทำหน้าที่เคลื่อนย้ายไปตามตำแหน่งคอพิณ โดยใช้หัวแม่มือวางบนคอพิณ นิ้วชี้ - นิ้วกลาง - นิ้วนาง - นิ้วก้อย กดปลายนิ้วลงบนสายพิณ

การกดสายควรกดเบาๆ เหนือขั้นเสียงเล็กน้อยเพื่อเสียงที่ออกมาจะไม่เพียน

6. การดีดสายให้เสียงรัวหรือ กรอเสียง คือการดีด ขึ้นลงสลับกันโดยใช้ข้อมือสบัดให้เร็วที่สุด ( เคราะหนึ่งจังหวะให้ดีดสลับขึ้นลง 8 ครั้ง )คือจังหวะยกหรือตก ครับ

7. ตำแหน่งที่ดีดสายควรดีดสายบริเวณรูเสียง เพื่อให้เสียงกังวาน

8. การจับปิ๊กใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับ บางคนถนัดใช้นิ้วกลางแทนนิ้วชี้ก็ได้ ไม่ควรจับปิ๊กแน่นหรือเบาเกินไป เพื่อไม่ให้ป๊กหลุดมือขณะดีดครับ

การจับปิ๊ก



9. การดีดพิณตามโน๊ตเพลงใช้วิธีการอ่านแบบเดียวกับโน๊ตโปงลาง คือ

โน๊ตพิณ จังหวะ ดีด 1 2 3 4

ขึ้น ลง ขึ้น ลง

ม ม ม ม สาย 1 สายเปล่า

*การดีดพิณ พอสรุปได้ว่า ดีดขึ้นจังหวะที่ 1 และ 3 ดีดลงจังหวะที่ 2 และ 4 การดีดเสียงให้ชัดเจนให้ใช้ปลายนิ้วกดให้ชิดด้านซ้ายขั้นพิณให้แน่น

จึงดีดสายบริเวณรูเสียง เสียงที่ได้จะชัดเจน

การฝึกดีดพิณเบื้องต้น

*ฝึกดีดสายเปล่าสายที่ 1 เสียง มี บรรทัด 1 ( ขึ้น ลง ชึ้น ลง ) บรรทัดที่ 2 ( - ขึ้น - ขึ้น ) บรรทัดที่ 3 ( - ลง - ลง ) บรรทัดที่ 4 ( ขึ้น ลง - - )

เครื่องหมาย( - ) ไม่ต้องดีด แต่ให้นับ หนึ่งจังหวะ หรือเคราะหนึ่งครั้ง ครับ

การฝึกดีดสายเปล่า

ม ม ม ม

1 2 3 4


ม ม ม ม

1 2 3 4


ม ม ม ม

1 2 3 4


ม ม ม ม